นายอรรคพล ยอดสร้อย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
นายอาทิตย์ ชิวนาถพันธ์
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
ส่วนที่ 3
ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ประกอบด้วย 6 ด้าน
1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
วิสัยทัศน์
จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่
ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ
เป้าหมายการพัฒนาประเทศ
1. การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
(1) เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.0
(2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP Per Capita) และรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNP Per Capita) ณ สิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 317,051 บาท (9,325 ดอลลาร์สรอ.) และ 301,199 บาท (8,859 ดอลลาร์ สรอ.) ต่อคนต่อปี
(3) ผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ต่อปี
(4) การลงทุนรวมขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 8.0 (การขยายตัวของการลงทุนภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10.0 และการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี)
2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
(1) ประชาชนทุกช่วงวัยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (SocioEconomic Security) และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
(2) การศึกษาและการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาคุณภาพ
(3) สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งเป็นฐานรากที่เอื้อต่อการพัฒนาคน
3. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
(1) การกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
(2) บริการทางสังคมมีคุณภาพและมีการกระจายอย่างทั่วถึง
4. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(1) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
(2) ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(4) เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(5) มีการบริหารจัดการให้สมดุลระหว่างการอุปสงค์และอุปทานของ
5. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
(1) การบริหารงานภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วม
(2) ขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น
(3) มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม
กรอบยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
6. ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
7. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
8. ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
10. ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค
1.3 แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
แผนพัฒนาภาค
โดยมีกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 บัญญัติให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคที่ยึดกระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากทุกจังหวัดทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น เพื่อสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สามารถ ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด โดยมีแนวคิดและหลักการ ดังนี้
1.1 ยึดแนวคิดการพัฒนาตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล เป็นธรรมและ มีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ควบคู่กับกับแนวคิด“การพัฒนาแบบองค์รวม” ที่ยึด คน ผลประโยชน์ของประชาชน ภูมิสังคม ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคภาคีการพัฒนา และหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้สังคมสมานฉันท์ และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
1.2 หลักการ มุ่งสร้างความเชื่อมโยงกับแผนระดับชาติต่าง ๆ นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการ แผ่นดิน เพื่อสร้างโอกาสทางการพัฒนา สอดคล้องกับภูมิสังคมของพื้นที่ โดย
(1) กำหนดรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศและภาค รวมถึงชุมชน
ของพื้นที่
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
(1) พัฒนาฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาเสถียรภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม เกษตร การบริการ การลงทุนให้มีความมั่นคงและเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม พัฒนาการเกษตร ฟื้นฟูการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์
(2) พัฒนาศักยภาพคน ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เช่น ส่งเสริมการเรียนการสอนนอกระบบ การอาชีวศึกษา ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน และภาคประชาสังคมในการสร้างวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ
(3) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลต่อระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ โดยเร่งแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) เสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาเมืองและพื้นที่ชายแดนตามแนวเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ
(5) บริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบทอย่างมีส่วนร่วมและเกื้อกูลกัน เพื่อให้มีการ จัดระเบียบรูปแบบการพัฒนาเมืองและชุมชนได้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการของชุมชน
2) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี
จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง โดยให้จังหวัดลพบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
ตำแหน่งยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดกลางตอนบน
1. เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อการบริโภคและจำหน่ายในประเทศและ
ต่างประเทศ
2. เป็นแหลงท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสนา วัฒนธรรม เกษตร วิถีชีวิต
และเพื่อการเรียนรู้
วิสัยทัศน์
"ฐานการผลิตอาหารปลอดภัยท่องเที่ยว
เพื่อการเรียนรู้ทรัพยากรน้ำสมดุล และยั่งยืน"
พันธกิจ
1. พัฒนาศักยภาพการผลิต การแปรรูป และขีดความสามารถในการแข่งขัน
เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
2. สร้างมูลค่าเพิ่มและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน
3. พัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้า
4. สร้างความสมดุลทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เป้าประสงค์รวม
เป้าประสงค์รวม | ตัวชี้วัด/เป้าหมาย รวม 4 ปี |
ข้อมูล ค่าฐาน |
เป้าหมายรายปี | |||
61 | 62 | 63 | 64 | |||
1.เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยที่สำคัญของกลุ่มจังหวัด | 1.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย |
7 แสนบาท/ปี (พ.ศ.2558) |
2.5 | 2.5 | 2.5 | 2.5 |
2.สินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้น | 2.จำนวนสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (ของทางราชการ) | 36 ชนิด |
4 ชนิด |
4 ชนิด |
4 ชนิด |
4 ชนิด |
3.ยกระดับการท่องเที่ยว เชิงคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด |
3.อัตราการขยายตัวรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปี | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
4.บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ | 4. จำนวนพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำ |
-พื้นที่เกษตรทั้งหมด 4.21 ล้านไร่ -พื้นที่เกษตรที่ใช้น้ำชลประทานทั้งหมด 2.25 ล้านไร่ |
5,000 (ไร่) |
5,000 (ไร่) |
5,000 (ไร่) |
5,000 (ไร่) |
ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน 2
3) แผนพัฒนาจังหวัด
วิสัยทัศน์ (Vision)
“เมืองเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”
พันธกิจ(Mission)
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคเกษตร และเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์
3. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบโครงสร้างทางสังคม ทุนทางสังคม และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์รวม (Goal)
1. ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐานสู่ตลาดผู้บริโภค
2. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว และบริการท่องเที่ยวมีคุณภาพได้มาตรฐาน
3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. ชุมชนมีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยแบบครบวงจร
กลยุทธ์
1.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและกลุ่มองค์กรเกษตร โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคเกษตรและบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
1.4 พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย
1.5 ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยว
กลยุทธ์
2.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการด้านการท่องเที่ยวให้เป็นแบบมืออาชีพ
2.2 พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มจากแหล่งท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว
2.3 ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ และการตลาดเชิงรุก สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
จากทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
กลยุทธ์
3.1 สนับสนุนให้ประชาชนมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และดูแลผู้เปราะบาง
3.2 พัฒนาระบบการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน
3.3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และพลังงาน
3.4 พัฒนา และปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ
3.5 พัฒนาสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ และศาสนสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าของชุมชน
3.6 พัฒนาอาชีพและสร้างความมั่นคงด้านรายได้ แก่แรงงานนอกภาคเกษตร
1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
1) วิสัยทัศน์ (Vision)
"เมืองเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และสังคมอยู่เย็นเป็นสุข"
2) พันธกิจ
1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตเกษตรปลอดภัยและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเศรษฐกิจของชุมชนและจังหวัด
2. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความความสามารถด้านการท่องเที่ยว
3. พัฒนาระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าระหว่างแหล่งผลิตและตลาด
4. พัฒนาท้องถิ่นทำให้เป็นเมืองน่าอยู่
3) เป้าประสงค์
1. เป็นแหล่งการผลิตเกษตรปลอดภัยของประเทศ
2. รักษามรดกทางประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม และธรรมชาติ
3. สร้างงานสร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่น
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
5. ทำให้เป็นเมืองน่าอยู่
4) ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร
2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม
3. การพัฒนาเศรษฐกิจ
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการสาธารณะ
5. การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
6. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. การพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
2. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.1. วิสัยทัศน์ (Vision)
“แม่ลาน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงพัฒนา เศรษฐกิจพึ่งพา พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สืบสานประเพณีวัฒนธรรมยั่งยืน”
2.2. ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการสาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
2.3 เป้าประสงค์
1. จัดระบบการบริการสาธารณะให้ครบถ้วนทุกกระบวนงานบริการ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ให้ประชาชนตำบล สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง
อยู่ดี ทุกระดับ
ระดับตำบล ที่มีชื่อเสียงเชื่อมโยงระดับจังหวัด
7. ส่งเสริม สนับสนุน หมู่บ้าน ตำบลให้น่าอยู่และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ครอบคลุมทุกมิติ
ภาคเอกชน เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
1. ร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการฯ
2. ร้อยละ 80 ของประชาชนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ในโครงการฯ ซึ่งบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 7 ยุทธศาสตร์
3. ร้อยละ 70 ของโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการ ไม่พบข้อบกพร่อง และไม่มีข้อท้วงติงจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ
2.5 ค่าเป้าหมาย
1. ประชาชนทุกหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพหลักด้านเกษตร และผลผลิตทางเกษตร และมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ดำรงชีพได้อย่างพอเพียง ไม่มีภาระหนี้สิน
2. ประชาชนทุกหมู่บ้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม ไว้สืบทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
3. จัดระบบการบริการสาธารณะให้ครบถ้วนทุกงานประชาชนได้รับประโยชน์สุขครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
4. จัดระบบการพัฒนาการศึกษาผ่านการประเมินมาตรฐาน
5. ประชาชนทุกหมู่บ้านมีความคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
6. หมู่บ้าน ตำบลน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี ปราศจากมลภาวะเป็นพิษ
2.6 กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร
1. เสริมการมีส่วนร่วมในการผลิต และแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
2. ส่งเสริมการทำเกษตรให้มีมาตรฐานและปลอดภัย
3. พัฒนาส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร
4. ส่งเสริมศักยภาพเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในด้านการเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม
1. ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีดีงาม
2. พัฒนาและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว
3. ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
4. พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว
5. สร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ
1. แก้ไขปัญหาความยากจนโดยใช้แนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอพียง”และ
“เศรษฐกิจ ชุมชนพึ่งตนเอง”
2. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพตามศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่น
3. ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ ผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในด้านการอาชีพ
4. จัดให้มีและพัฒนาศูนย์แสดงสินค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับจังหวัดและชุมชนยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการสาธารณะ
1. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า และท่อระบายน้ำ ให้มี มาตรฐาน
2. จัดให้มีซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและประปาสาธารณะ
3. จัดให้มีระบบสาธารณูปโภคให้กับชุมชนอย่างเป็นระบบและทั่วถึง
4. บำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร
5. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6. การพัฒนาระบบสื่อสาร
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิต
1. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับ
2. ส่งเสริมสนับสนุนด้านสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
3. ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. ส่งเสริมสนับสนุนด้านการกีฬา การสาธารณสุข และนันทนาการแก่ประชาชน
5. ส่งเสริมและ บูรณาการการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน
7. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
8. การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำผังเมืองรวม และผังชุมชนจังหวัดสิงห์บุรีตามภารกิจ
ที่มีการถ่ายโอน หรือรับผิดชอบ
2. บำรุงรักษาสภาพแวดล้อมลำน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ
3. ก่อสร้าง พัฒนา ปรับปรุงสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ
4. การบริหารจัดการขยะ และสิ่งปฏิกูล
5. ปลูกจิตสำนึกให้เกิดความตระหนักและช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ป่าชุมชนในท้องถิ่นให้มีความสมบูรณ์ และส่งเสริมการ
มีส่วนร่วมในการจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
1. พัฒนาระบบบริหารองค์กรตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร
4. พัฒนาเครือข่ายในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ประชาคม ในด้านการพัฒนาท้องถิ่น
5. การพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย
6. ส่งเสริมการปกป้อง เทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
กำหนดขึ้นมาจากการวิเคราะห์ปัจจัยเข้า ได้แก่ นโยบาย (Policy) ความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) และสถานการณ์ของภารกิจ (Business) ที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาจะต้องดำเนินการตอบสนองด้วยกลวิธีทางยุทธศาสตร์โดยให้บรรลุในวิสัยทัศน์การพัฒนาของท้องถิ่น เพื่อนำมาวิเคราะห์กำหนดจุดยืนการพัฒนายุทธศาสตร์ให้มีการพัฒนาสอดคล้องเชื่อมโยงกัน สู่การพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างแท้จริง
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา โดยมีการพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้
1. พัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและจุดขายระดับตำบล
2.1 ส่งเสริม สนับสนุน หมู่บ้าน ตำบลให้น่าอยู่และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมทุกมิติ
3.5 จัดระบบการบริการสาธารณะให้ครบถ้วนทุกกระบวนงานบริการ
2.8 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
ในภาพรวมยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา มุ่งพัฒนา 7 ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ ส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน และการบริการสาธารณะ สังคม และคุณภาพชีวิต การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ และเชื่อมโยงไปสู่ทิศทางการพัฒนาดังนี้
1. การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่ง การคมนาคม และระบบโลจิสติกส์
ภายใต้กรอบ ความร่วมมือ ในทุกภูมิภาค
2. การพัฒนาการลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับภูมิภาค
3. การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน สร้างสรรค์เป็นทางเลือก
ในการดำเนินนโยบายของชาติ สู่การพัฒนาท้องถิ่นเข้มแข็ง
5. การสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การเคลื่อนย้ายแรงงานและการส่งเสริมแรงงาน
6. การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพชีวิตป้องกันภัยจากการอาชญากรรมยาเสพติดภัยพิบัติและการแพร่ระบาดของโรคภัย
7. การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเปิดรับความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร
8. การเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว
9. การส่งเสริมในการรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังหา/ใช้ พลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม
10. การปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น
3. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
3.1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา
การพัฒนาในบางครั้งอาจไม่สัมฤทธิ์ผลตามนโยบายหรือเป้าหมายที่วางไว้ก็อาจเป็นได้เนื่องจากมีปัจจัยและสถานการณ์เกิดขึ้นทำให้มีผลกระทบกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยส่วนใหญ่มักเป็นปัจจัยภายนอกซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถควบคุมได้ ในช่วงการพัฒนาที่ผ่านมามีปัจจัย และเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1. งบประมาณในการบริหารงาน
2. อุทกภัย ภัยแล้ง
3. ศัตรูพืช โรคระบาดในพืชและสัตว์
4. สภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและศักยภาพเพื่อประเมินสถานการณ์การพัฒนาในปัจจุบันโอกาส
การพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่นโดยหลัก SWOT(SWOT Analysis) โดยการพิจารณาปัจจัยต่างๆ แต่เมื่อแยกแล้ว ประกอบด้วย ปัจจัยสภาวะแวดล้อม ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ได้แก่ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) กับปัจจัยสภาวะแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาส (Opportunity) และข้อจำกัดหรือปัญหาอุปสรรค (Threats) และเมื่อใช้หลักการ SWOT มาพิจารณาแต่ละปัจจัยแล้วสามารถชี้ให้เห็น ดังนี้
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง
- พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ระบบชลประทานทั่วถึง เหมาะสมแก่การทำการเกษตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ตลอดทั้งปี
- ปลาแม่ลามีชื่อเสียง เป็นปลาที่ได้รับการยอมรับว่ามีรสชาติอร่อย
- เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ หากพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พัฒนาแหล่งโบราณบ้านคูเมือง ชุมชนริมลำแม่ลา วัดตลอดลำน้ำ เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวเดิมคือวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร และวัดพิกุลทอง
จุดอ่อน
- ศักยภาพของชุมชน ประชาชนบางส่วนยังขาดการมีส่วนร่วม
- ขาดบุคคลที่เป็นแกนนำในการพัฒนา
- ประชากรขาดช่วง ผู้สูงอายุมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในพื้นที่
- รายได้ของประชาชน มาจากการเกษตร
- จำนวนพื้นที่กับงบประมาณไม่สมดุล
- การศึกษาของประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โอกาสการพัฒนาในอนาคต
- นโยบายของจังหวัด ที่สนับสนุนส่งเสริมด้านการเกษตร การท่องเที่ยว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
- การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานราก ตามนโยบายของรัฐบาล
- การแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของรัฐบาล
- การปลุกจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
- ภัยธรรมชาติ (อุทกภัย,ภัยแล้ง,การแพร่ระบาดของศัตรูพืช)
- ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร
- การจัดสรรงบประมาณล่าช้าและไม่เพียงพอต่อการพัฒนาตามภาระหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้น
- การพัฒนาลำแม่ลา ยังทำได้ยากเพราะองค์กรที่รับผิดชอบมีหลายองค์กร ยากต่อการทำงานร่วมกัน
- ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความร่วมมือและขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
- ขาดการชี้แจงและทำความเข้าใจจากหน่วยงานภาครัฐ
- กฎหมาย/ระเบียบบางเรื่องล้าหลัง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน
- การประสานงานของหน่วยงาน เช่น เกษตรตำบล , พัฒนาชุมชน ฯลฯ เป็นต้น
ในการกำหนดยุทธศาสตร์และพัฒนาหรือวิธีแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล ว่ามีปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกอะไรบ้างที่จะมีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลมีผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น ซึ่งได้สรุปวิเคราะห์ ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
สาเหตุและปัญหา
1. ถนนทุกเส้นทุกสายส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรังและมีหลุมบ่อจำนวนมาก ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวกและไม่มีความปลอดภัยในการเดินทาง
2. ถนนลาดยาง/ถนนคสล.บางแห่งชำรุด เนื่องจากมีการสัญจรไปมาจำนวนมากและเป็นเส้นทางที่รถบรรทุกสัญจรไปมาจำนวนมาก
3. ถนนดินสาธารณะบางแห่งสามารถเป็นเส้นทางให้ประชาชนในหมู่บ้านใช้ประโยชน์ได้ร่วมกันแต่ยังไม่ได้รับการสำรวจข้อมูล
4. ถนนบางเส้นบางสายยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จไม่สิ้นสุดระยะทาง เนื่องจากงบประมาณ ที่มาดำเนินการนั้นมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอ และบางเส้นทางระยะทางจุดสิ้นสุดยาวมากและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากนำมาบริหารจัดการ
5. คูคลองส่งน้ำ-ทิ้งน้ำ ตื้นเขิน วัชพืชมีจำนวนมาก
6. น้ำประปาไหลไม่สะดวก ไหลน้อย ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค (บางหมู่บ้านไม่ไหล) เนื่องจากบางแห่งมีการก่อสร้างนานแล้ว ของเดิมชำรุด ทำให้อุปกรณ์เสื่อมสภาพตามกาลเวลา และระบบการไหลเวียนของน้ำมีการอุดตัน
7. บริเวณจุดทางแยกในเขตพื้นที่ เกิดอุบัติเหตุบ่อย
8. จำนวนที่ตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้น/แสงสว่างบนถนนและตามซอยในเวลากลางคืนติดตั้งน้อยแสงสว่าง ไม่เพียงพอ อาจเกิดจุดเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้สัญจรไปมา/เสาไฟฟ้าอยู่ในบ้านเรือนของประชาชน ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
9. การประชาสัมพันธ์ล่าช้า เนื่องจากระบบเสียงตามสายในหมู่บ้านไม่ได้ยินชัดเจน ทำให้ไม่ได้รับข่าวสารจากทางหมู่บ้าน กรณีงานบางอย่างเร่งด่วนทำให้เสียผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. ลงหินคลุกลูกรัง/ซ่อมแซมทุกเส้นทุกสายในพื้นที่ตำบลแม่ลา
2. ก่อสร้างถนนคสล.ทุกเส้นทุกสายในตำบลให้ครบถ้วน100% (ภาพอนาคต) เพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวกรวดเร็วปลอดภัยขึ้น
3. ซ่อมแซมถนนลาดยาง/ถนนคสล.ที่ชำรุด
4. สำรวจพื้นที่ดินที่สามารถดำเนินการเปิดเป็นเส้นทางถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางนั้น จะต้องมีผู้ได้รับประโยชน์มากประชาชนมีการสัญจรไปมาสม่ำเสมอ รวมทั้งเป็นเส้นทางทะลุตัดผ่านกับถนนเส้นอื่นได้ และต้องเป็นสถานที่สาธารณะประโยชน์เพื่อหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าดำเนินการได้ตามความต้องการของประชาชน
5. ถนนบางเส้นเป็นถนนที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานอื่น ต้องทำเรื่อง เพื่อเสนอตามกระบวนการขั้นตอน
6. ถนนบางเส้นที่มีระยะทางยาว (โครงการที่เกินศักยภาพฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ประสานงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กับหน่วยงาน อบจ.สิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี กรมส่งเสริมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
7. ขุดลอกคูคลองส่งน้ำ-ทิ้งน้ำทุกเส้นทุกสายในตำบลให้ระบบการหมุนเวียนของน้ำไหลสะดวกตลอดเวลา
8. กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรกล เพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชน (ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดและส่งโครงการขุดลอกคูคลองกำจัดวัชพืชกับอบจ.สิงห์บุรีทุกปี)
9. ซ่อมแซม ปรับปรุงดูแลระบบประปา เป่าท่อเมน เปลี่ยนท่อเมน เปลี่ยนถังประปาที่มีคุณภาพ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ
10. ก่อสร้างระบบประปาใหม่ในพื้นที่ที่มีระบบประปาไม่เพียงพอ หรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้
11. ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรทางจุดเสี่ยงและสามแยก เพื่อเตือนภัยให้กับผู้สัญจรไปมา
12. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร
13. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การขับขี่ปลอดภัยให้กับผู้สัญจรไปมา
14. ติดตั้ง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม/ขยายเขตไฟฟ้า/ย้ายเสาไฟฟ้าออกจากสถานที่ตั้งบ้านเรือน โดยการประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอค่ายบางระจัน ดำเนินการตามระเบียบฯ
15. ซ่อมแซมปรับปรุงระบบเสียงตามสายให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
16. ติดตั้งระบบเสียงไร้สายทั้งตำบล
17. ซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุงรักษา เปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานคงทนใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี
18. จัดทำทะเบียนคุมการซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุงรักษา เพื่อประเมินสถานการณ์ดูว่า จะมีการซ่อมแซมต่อหรือจะจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทนของเดิม
2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สาเหตุและปัญหา
1. ปัญหาขยะมูลฝอยทิ้งไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดการเน่าเหม็นส่งกลิ่นรบกวนและทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ มลภาวะเป็นพิษ เกิดสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีในชุมชน
2. ปัญหาฝุ่นละออง/ทราย/ดิน ร่วงหล่นบนท้องถนน ทำให้สกปรกและเกิดอันตรายต่อผู้สัญจรไปมา รวมทั้งผู้อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ต้องรับผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจในการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน
3. ภายในตำบลมีภูมิทัศน์ไม่สวยงาม (ริมถนนสาธารณะมีกิ่งไม้ยื่นออกมา/ขยะทิ้งริมถนนสาธารณะทิ้งไม่ถูกสุขลักษณะ)
4. วัชพืชในแหล่งน้ำ ลำคลองและพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ มีปริมาณจำนวนมากทำให้ผู้ประกอบอาชีพเกษตร ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ไหลเวียนช้า เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำประกอบอาชีพเกษตร
5. ขาดแคลนพันธุ์ปลา พันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ ในแหล่งน้ำสาธารณะ ประชาชนส่วนใหญ่จะหาปลาเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของครัวเรือน
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. จัดซื้อรถขยะ/จัดหาสถานที่ทิ้งขยะ/ถังขยะให้กับทุกครัวเรือน
2. จัดตั้งกองทุนขยะในชุมชน
3. ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตกแต่งดูแลริมถนนสายหลัก/สายรองและถนนสาธารณะในหมู่บ้านประจำทุกเดือน
4. ปลูกป่าชุมชนเพิ่มพื้นที่สีเขียว
5. กำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ และพื้นที่สาธารณะต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
2. ขอรับการสนับสนุนพันธุ์ปลาจากสำนักงานประมงน้ำจืด เพื่อนำมาปล่อยแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับประชาชนในพื้นที่ และสามารถสร้างรายได้ อาชีพเสริมให้กับประชาชน
3. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
สาเหตุและปัญหา
1. ยาเสพติดแพร่ระบาดในหมู่บ้านชุมชน และไม่มีงบประมาณที่จะดูแลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2. ปัญหาภัยพิบัติทุกประเภท เช่น อุทกภัย น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร/ ความเสียหายด้านเกษตร/ บ้านเรือนของประชาชนประสบความเดือดร้อน/วาตภัย ลมพายุกระโชกแรง บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหาย ต้นไม้ล้มทับ/อุบัติภัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
3. ปัญหาโจรขโมย ลักทรัพย์สิน และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน
4. ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/ผู้ยากไร้/ผู้ด้อยโอกาส ในหมู่บ้านขาดแคลนปัจจัยสี่เป็นจำนวนมากและต้องการให้หน่วยงานดูแล สร้างความอบอุ่นอย่างใกล้ชิด
5. ประชาชนส่วนใหญ่การอ่านออก เขียนได้ ภาษาต่างประเทศไม่เก่ง และถ้าหากก้าวสู่ปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่อาเซียน 10 ประเทศ จะพูดคุย สื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาไม่ได้ ประกอบด้วย
1. ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 6. ประเทศพม่า (Myanmar)
2. ประเทศกัมพูชา (Cambodia) 7. ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
3. ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) 8. ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
4. ประเทศลาว (Laos) 9. ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) 10. ประเทศไทย (Thailand)
ปัญหาก็คือ การสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. สนับสนุนงบประมาณป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยให้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
และจริงจัง
2. จัดอบรมสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน/ประชาชน/กลุ่มเสี่ยง ให้เข้ามารับรู้แก้ไขปัญหา
ยาเสพติดร่วมกัน
3. ติดตั้งกล้องวงจรปิด
4. สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบภัยพิบัติ โดยทันที ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ
6. ประสานงานขอรับการช่วยเหลือ เยียวยา หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
7. จัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ เพี่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อน
8. จัดเวรยามดูแลหมู่บ้าน/ชุมชน ดูและความปลอดภัยโดยจัดหาอาสาสมัครเข้าร่วมดำเนินการ
เป็นต้น
9. สนับสนุนสายตรวจเวรยาม และให้มีการจัดเวรยามดูแลความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
10. ตั้งจุดตรวจเส้นทางจำหน่ายยาเสพติด
11. สนับสนุนเงินช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส
12. การให้การสงเคราะห์โดยการซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ภายในตำบล
13. สนับสนุนกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ
14. จัดตั้งกลุ่มองค์กรดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่บ้าน
สมาชิกสภาอบต.เจ้าหน้าที่อบต.แม่ลาทุกคน รวมทั้งประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจในตำบลแม่ลา
4. ด้านสาธารณสุข
สาเหตุและปัญหา
1. ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว เนื่องจากอายุมากขึ้น โรคต่างๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมีการสะสมในร่างกาย การปฏิบัติตัวประจำวัน การรับประทานอาหาร และจะแสดงอาการในช่วงอายุที่ไม่มีภูมิต้านทาน
2. ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบล
3. ปัญหาขาดแคลนสถานที่ออกกำลังกาย/การสนับสนุนให้มีการออกกำลังกาย
4. ปัญหาการเกิดโรคระบาดต่างๆ ในพื้นที่ตำบล ซึ่งเป็นโรคใหม่ประชาชนรู้ไม่เท่าทันเหตุการณ์
5. พื้นที่ตำบลระยะทางห่างไกลโรงพยาบาลในเขตอำเภอและจังหวัดสิงห์บุรี กรณีเจ็บไข้/ป่วยหนัก บางบ้านไม่มีรถส่วนตัวทำให้ประสบความเดือดร้อนในการเดินทาง
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. สนับสนุนกิจกรรมตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอทุกปี
2. ให้ความรู้ด้านสาธารณสุขกับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง (ประสานงานรพ.สต.แม่ลา)
3. ให้การสนับสนุนยาสามัญประจำบ้าน
4. จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกพ่นหมอกควัน และมอบทรายอะเบท
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอ
5. ก่อสร้างลานกีฬาแบบหลังคาคลุมและจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายตามความเหมาะสม
6. จัดกิจกรรมส่งเสริมกีฬาประเภทต่างๆ การออกกำลังกายให้กับประชาชนในพื้นที่
7. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์กีฬาให้กับหมู่บ้าน
8. จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาในชุมชน
9. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้โรคระบาดต่างๆ ให้กับประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
10. ขอรับการสนับสนุนช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
11. จัดบริการรถกู้ชีพ-กู้ภัย ให้บริการตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
5. ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร
สาเหตุและปัญหา
1. ปัญหาสินค้าอุปโภค บริโภคมีราคาแพง ค่าครองชีพสูง รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
2. ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ
3. ปัญหาต้นทุนในการผลิตสินค้าเกษตรมีราคาสูง
4. ปัญหาไม่มีน้ำทำนา
5. ปัญหาโรคระบาดต่าง ๆ ในนาข้าว เพลี้ยกระโดด/ศัตรูพืชในนาข้าว
6. ดินเสื่อมสภาพเนื่องจากมีการทำนาตลอดปี
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. จัดตั้ง/ส่งเสริมอาชีพต่างๆ ภายในตำบล
2. รณรงค์ให้ปลูกผักสวนครัวทุกหลังคาเรือน
3. จัดหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
4. จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อรู้จักประมาณตนกับรายได้ที่รับ
5. จัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดระดับตำบล
6. สนับสนุนการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงในตำบล
8. ลดต้นทุนการผลิตพืชผลทางการเกษตรประเภทนั้นๆ เพื่อให้สอดรับกับความแปรปรวนทาง
ด้านเศรษฐกิจ
9. จัดหาตลาดจำหน่ายสินค้าเกษตรไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
10. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือ
11. จัดอบรมการผลิตเชื้อราบีเวอร์เรีย/พร้อมอุปกรณ์
12. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต
13. ส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพต่าง ๆ ฯลฯ
14. สนับสนุนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี/ผลิตข้าวพันธุ์ดี
15. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือ
16. ปฏิบัติตามกำหนดการของโครงการส่งน้ำบรมธาตุฯ
17. สนับสนุนการผลิตไตรโคเดอมา และเชื้อบีเวอร์เรีย เพื่อใช้ในการทำนา
18. ส่งเสริมการปรับปรุงดิน
6. ด้านประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
สาเหตุและปัญหา
1. ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น ได้รับความสนใจน้อยมาก
2. การอบรม ทบทวน ลูกเสือชาวบ้าน ไม่ได้รับความสนใจ
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดงานประเพณีในท้องถิ่นให้มีสืบทอดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ลอยกระทง/ สงกรานต์/ แข่งเรือยาว ฯลฯ
2. จัดอบรมเข้าค่ายธรรมะเยาวชน/ประชาชน/ผู้สูงอายุในพื้นที่
3. ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมดั้งเดิมให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ และสร้างจิตสำนึกในการสืบทอดวัฒนธรรมต่อไป
4. จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมทางด้านศาสนา/ประเพณีวัฒนธรรม/ส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักร่วมกัน และอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่ชนรุ่นหลังต่อไป
6. ฟื้นฟู อบรม ทบทวนลูกเสือชาวบ้าน เพื่อสร้างความรักสามัคคีในชุมชน
7. ด้านการเมือง การปกครอง
สาเหตุและปัญหา
1. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวัน ทำให้การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ รู้ไม่เท่าทันกันทำให้เสียเปรียบ เสียโอกาสในเรื่องต่างๆ
2. ผู้นำชุมชนบางกลุ่มยังขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. จัดอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
2. จัดอบรมเพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนทุกกลุ่มองค์กรในพื้นที่ตำบลแม่ลา
8. ด้านการท่องเที่ยว
สาเหตุและปัญหา
1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงนิเวศน์ได้รับการพัฒนาปรับปรุงน้อย เนื่องจากการปรับปรุง ดูแล ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
2. ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรมีสินค้าเกษตรมากมายแต่ไม่มีจุดขายในตำบลแม่ลา
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. อนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์/เชิงนิเวศน์ในตำบลแม่ลาให้เป็นที่เลื่องลือและเชื่อมโยงสู่ระดับอำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ
2. ประสานงานขอรับการสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจพอเพียงครบวงจร และพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึง
3.2 การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันนี้ ความต้องการส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลจะเป็นในเรื่องการประกอบอาชีพ รายได้เพิ่มขึ้นในการดำรงชีพ ราคาพืชผลสินค้าทางการเกษตรในการประกอบอาชีพหลัก ให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ราคาขายสูงขึ้น เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างผาสุข ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 – 2.9 โดยมี ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือไม่ปรับขึ้น มากนัก ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทย นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรต่าง ๆ ของภาครัฐ อาทิ การลดต้นทุนการผลิต ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เขตเกษตรเศรษฐกิจ (zoning) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window: NSW) รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จะช่วยสนับสนุนให้ การผลิตสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญ อาจท้าทายให้ความ ต้องการสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการผลิตและ ราคาสินค้าเกษตรในประเทศด้วย และมีการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
3.2.1) การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่จะส่งผลกระทบต่อ อบต.
- รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะส่งผลต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างไร
- แนวโน้มการยกฐานะจาก อบต. เป็นเทศบาลทั่วประเทศ
- แนวโน้มการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ในตำบลเดียวกัน
ให้มีองค์กรเดียว
- การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการจัดสรรเงินงบประมาณให้ อปท.
3.2.2) การเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคที่จะส่งผลกระทบต่อ อบต.
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติในอาเซียน 10 ประเทศ โดยมี ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากโดย AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ไว้ จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้น จะต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางพัฒนาได้รับประโยชน์สุขได้อย่างแท้จริง